สวนลุงสงวน จ.ปราจีนบุรี






สวนลุงสงวน

ผลิตและจำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วง เพื่อนำเสนอกิ่งพันธุ์ไม้คุณภาพแก่ท่านที่สนใจ ในราคาที่ถูก
สถานที่ตั้ง : บ้านเลขที่ 4 หมู่ 6 ถนนเกาะยายเสาร์ ซอย 2 ตำบลบ้านพระ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี 25230
สนใจติดต่อ : 082-4660376






ประวัติสวน

เริ่มผลิตและจำหน่ายกิ่งพันธุ์มะม่วงมานานกว่า 20 ปี แล้วโดย ลุงสงวน เป็นผู้เริ่มก่อตั้งสวนพร้อมกับการทดลอง
ผลิตพันธุ์มะม่วงมากมายหลาย ประเภท มะม่วงเขียวเสวย มะม่วงอกร่องพิกุลทอง มะม่วงอกร่อง มะม่วงแก้ว (พันธุ์โบราณ) มะม่วงแก้ว 007 มะม่วงน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มะม่วงเขียวใหญ่ มะม่วงน้ำดอกไม้มัน มะม่วงโชคอนันต์ มะม่วงแรด มะม่วงทองดำ มะม่วงมหาชนก และพันธุ์อื่น ๆ ปัจจุบันมีพันธุ์ไม้ มากมายเพื่อจำหน่าย
และเพื่อให้ท่านที่สนใจพันธุ์ไม้ใหม่ ๆ และได้เข้าชมและศึกษาได้ หากท่านสนใจพันธุ์ไม้ชนิดใดแล้วไม่ทราบแหล่งผลิตหรือจำหน่าย หรือหากท่านทำการค้นหาแล้วไม่พบข้อมูลจากที่ใด สามารถสอบถามจากเราได้ หากทางเรามีข้อมูลหรือทราบแหล่งผลิตและจำหน่าย เรายินดีให้บริการ






ต้นไม้...เปรียบเสมือน “เพื่อนแท้” ที่เติบโตเคียงข้างมนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย...
เป็นผู้ให้มาโดยตลอด... มีคุณค่าอเนกอนันต์...
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าทางจิตใจ เรา “สวนลุงสงวน” ขอเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่จะร่วม
สร้างสรรค์ธรรมชาติให้งดงามยิ่งขึ้น...







ประวัติมะม่วง



มะม่วง เดิมมีชื่อเรียกทั่วไปว่า มะม่วง, มะม่วงสวน และมะม่วงบ้าน
ชื่อสามัญ เรียกว่า แมงโก (Mango)
ชื่อในภาษาสันสกฤต เรียกว่า อัมรา (Amra) อัมพะ (Amba) ฯลฯ
ชื่อพฤกษาศาสตร์ เรียกว่า แมนกิเฟรา อินดิคา (Mangiferalndica,Linn.)
อยู่ในตระกูล Anacardiaceae
ถิ่นกำเนิด เป็นผลไม้ที่อยู่ในเขตร้อนของประเทศอินเดียและพม่า
มะม่วงในประเทศไทยจักเป็นผลไม้ที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย จนเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ และนอกจากนั้นเมืองไทยก็ยังมีผลไม้เศรษฐกิจอีกมากมายหลากหลายพันธุ์ เช่น ทุเรียน เงาะ ส้ม มังคุด องุ่น เป็นต้น
มะม่วงตามทำเนียบต้นไม้ของกรมป่าไม้จัดได้ว่าเป็นต้นไม้จากต่างประเทศ แต่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นไม้ดั้งเดิมของไทยซึ่งความจริงแล้วมะม่วงมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียและพม่าและ ได้เข้ามาเป็น ที่นิยมในประเทศไทยเมื่อหลายร้อยปีก่อนจึงทำให้กลายเป็นไม้พื้นเมืองไปส่วนในประเทศอินเดียที่เป็นถิ่นกำเนิดถือว่ามะม่วง เป็นผลไม ้โบราณที่สุดของอินเดียหรือเรียกได้ว่าเป็นผลไม้ประจำชาติอินเดียเลยก็ว่า ได้มะม่วงมีความสำคัญต่อศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์เป็นอย่างมากอย่างเช่น นิยายโบราณของฮินดูเล่ากันว่า พระประชาบดีเสกสรรค์ขึ้นมาส่วนกาพย์ในภาษาสันสกฤตก็เต็มไปด้วยการยกย่องสรรเสริญดอก ผล ต้น และพุ่มที่งดงามให้เป็นภาพศิลป์อย่างดีเลิศและเป็นกาพย์ที่แสดงความรู้สึกที่เป็นอมตะซึ่งตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัญนี้ ชาวฮินดูยังใช้ส่วนต่างๆ ของมะม่วงในพิธีบูชา และบวงสรวงเทพเจ้า เช่น ดอกมะม่วง ในฤดูแรกสามารถนำมาบวงสรวงพระสุรัสวดี และในเดือนต่อมาก็จะบวงสรวงแด่พระศิวะซึ่งพู่ของยอดมะม่วงจะนำมาใช้ในพิธี และการบวงสรวงเทพเจ้าเช่นกันกิ่งมะม่วงแห้งใช้โหมกรรมพิธีกองกูณฑ์บูชาเทพเจ้าส่วนหมู่ต้นมะม่วงก็เป็นที่ประทับของ พระพุทธเจ้าซึ่ง นางอัมพปาลี (อัมดาราริกา) ได้เป็นผู้ถวายสวนมะม่วงแด่พระพุทธเจ้า และต่อมาพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงยมกปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วงแห่งนั้น (ต้นรามพฤกษ)




การตั้งชื่อของมะม่วง

ในภาษาสันสกฤตจะใช้คำว่า อัมรา (Amra) ซึ่งนับว่าเป็นมงคลนาม และเป็นเครื่องหมายประกอบความดี หรือในทางอิทพลต่างๆ เช่น ต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมทำนองเดียวกับมะม่วงก็จะใช้คำว่า “Amra Gandhaka” ซึ่งหมายความว่า “กลิ่นหอมของมะม่วง”และชายหญิงชั้นสุงของชาวฮินดูก็มักจะนำชื่อมาประกอบ เช่น นางหญิงสาว ผู้ถวายสวนมะม่วงแด่พระพุทธเจ้าก็ใช้นามว่า อัมดาราริกา แต่ตามพุทธประวัติใช้ว่า นางอัมพปาลี และในวรรณคดีของอินเดียหลายเรื่องได้มีการกล่าวถึงมะม่วง เช่น เรื่องเมฆทูต (Meghaduta) ของการิททาส ซึ่งเป็นนักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดีย
มะม่วงมีปลูกในอินเดียมากในสมัยที่กำลังเจริญด้วยวัฒนธรรมดังจะเห็นได้ว่าบนสถูปของพระพุทธศาสนา ก็ปลูกมะม่วงไว้
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อโมกุลเข้าครอบครองอินเดีย มะม่วงได้รับการยกย่องเป็นต้นไม้ในพระบรมราชาอุปถัมภ์ และใน ค.ศ. 1556-1605 อัคบาร์มหาราช ซึ่งหลงใหลมะม่วงที่สุด ถึงกับให้ปลูกมะมม่วงพันธุ์ลัคบา ซึ่งถือว่าดีที่สุดในสมัยนั้นไว้ในสวนใหญ่ใกล ้ดาระภังค์ เป็นจำนวน 100,000 ต้นซึ่งแสดงให้เห็นว่า มะม่วงเป็นผลไม้ที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น
ประเทศไทยนั้นได้นำมะม่วงมาปลูกขึ้นเมื่อไรและใครเป็นผู้นำมาปลูกก็ยังไม่ปรากฏชัดเจนนัก ซึ่งได้มีการสันนิฐานไว้ 2 ทาง คือ ประเทศอินเดียและไทยได้ทำการติดต่อทางการค้าและทางวัฒนธรรมมาอย่างช้านาน และพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ส่วนมากก็นำก็นำมาจากประเทศอินเดียหรือมิฉะนั้นก็คงนำเข้ามาพร้อม ๆ กับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียเข้าสู่ประเทศไทยจนถือได้ว่าเป็นผลไม้พื้นเมืองของไทย แอล บี ซิงห์ ( L.B Singh) กล่าวไว้ว่าในมินดาเนาของประเทศฟิลิปปินส์ได้นำพันธุ์มะม่วงจากประเทศไทยไปปลูกใน ค.ศ. 1600-1650
มะม่วงนั้นเป็นผลไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด และปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ดินที่เหมาะสมสำหรับมะม่วง คือ ดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรดด่างของดิน(pH) ไม่เกิน 7. 5และสามารถปลูกในที่แห้งแล้งจนถึงในที่ที่มีฝนตกชุกประมาณ 190 – 205 เซนติเมตรต่อปีในประจุบันมะม่วงไทยเป็นที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก และประเทศไทยยังสามารถส่งมะม่วงพันธุ์หนังกลางวันไปจำหน่ายยังตลาดญี่ปุ่นได้ถึงแม้เป็นเพียงการเริ่มต้นก็ตาม จึงทำให้ชาวสวนและเกษตรกรทั่วไป หันมาปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออกกันอย่วงจริงจังและระบบการปลูกได้เปลี่ยนจากเดิม ซึ่งเคยปลูกแบบห่างก็เปลี่ยนเป็นปลูกแบบชิดหรือระบบปลูกถี่นอกจากนี่ก็ได้มีการใช้สารเคมีและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยทำให้เกษตรกรสามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูการได้





ชนิดพันธุ์มะม่วง

พันธุ์มะม่วง ที่ค้นพบในเขตร้อนจะพบได้ในประเทศอินเดีย,พม่า,มลายู และไทย ซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิดโดยเฉพาะในประเทศอินเดียส่วนของประเทศไทยที่ปรากฎตามทำเนียบของกรมป่าไม้ คือมะม่วงบ้าน มะม่วงสวน นอกจากนั้นยังมีชนิดอื่นที่มีในป่าของไทยคือ
1. mangifera caloneura kruz. ชื่อทั่วไปคือ มะม่วงกะล่อนหรือมะม่วงป่า ที่จังหวัดราชบุรีเรียกว่า มะม่วงเทพรส ส่วนภาคใต้เรียกว่า มะม่วงขี้ใต้, มะม่วงอะแฮม,ส้มม่วงคัน
2. mangifra camptosperma, Pierre ที่จังหวัดโคราชเรียกว่า หมักมาง
3. mangifra duperreana,Pierre var siamensis craib. ที่จังหวัดเชียงใหม่เรียกว่ามะม่วงขี้ยา
4. mangifera longipes, griff. ทางภาคตะวันตกเรียกว่า มะม่วงกะเล็ง
5. mangifera syivatica, roxb. ทางภาคตะวันตกเรียกว่า มะม่วงช้างเหยียบ,มะม่วงลูกแป๊บจังหวัดลำปางเรียกว่า มะม่วงแป๊บ จังหวัดตราดเรียกว่า มะม่วงขี้ใต้ และทางภาคใต้เรียกว่า ส้มม่วงกล้วย
นอกจากจะมีการผสมข้ามพันธุ์ได้แล้วการนำเมล็ดมาปลูก เพื่อได้ลำต้นขึ้นมาแล้ว ลักษณะจะผิดแปลกไปจากต้นแม่ซึ่งทำให้เกิดเป็นพันธุ์ใหม่ขึ้นมาหลากสายพันธุ์ โดยแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะของต้น ทรงพุ่ม ใบ ผล และรสชาติก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้


1.มะม่วงรับประทานแบบดิบ
ส่วนมากมะม่วงแบบดั้งเดิมจะหวานตอนแก่จัด แต่ยังไม่ถึงขั้นสุก เช่น เขียวเสวย แรด พิมเสนมัน ทองดำ เขียวไข่กา พญาเสวย หงสาวดี ลิ้นงูเห่า ฯลฯ ส่วนอีกพันธุ์หนึ่งที่มีรสมันแต่ไม่เปรี้ยวตั้งแต่ผลยังเล็ก เช่น สายฝน สวนทิพย์ ฟ้าลั่น หนองแซง และแห้ว สามารถรับประทานผลดิบได้ทุกนชนิด โดยปกติแล้วมะม่วงสามารถเก็บได้ไม่กี่วันก็จะเริ่มสุก ทำให้มีรสชาติหวานชืดไม่อร่อย จึงไม่นิยมมารับประทานอย่างสุกยกเว้นบางสายพันธุ์ที่สามารถรับประทานแบบสุกได้ เช่น ทองดำ แรด เขียวเสวย ลิ้นงูเห่า และหงสาวดี เป็นต้น
2.มะม่วงรับประทานแบบสุก
เมื่อผลของมะม่วงแก่จัดจะต้องทำการบ่มให้สุกก่อนรับประทาน ในขณะที่ยังดิบอยู่จะมีรสชาติเปรี้ยว เมื่อผลสุกจะมีรสชาติหวาน เช่น อกร่อง น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน พิมเสนพราหมณ์ ตลับนาก แสงทอง นวลจันทร์ ลิ้นงูเห่า เป็นต้น
3.มะม่วงใช้แปรรูป
เป็นมะม่วงที่มีผลดกจะมีขนาดเล็กจนถึงขนาดปานกลาง ผลแก่มีรถชาติมันอมเปรี้ยวและผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยวหรือรสจืดชืดผลดิบสามารถทำมะม่วงตากแห้ง และมะม่วงดองได้ และเมื่อผลสุกสามารถใช้เนื้อทำมะม่วงกวน และมะม่วงแผ่น ส่วนผลมะม่วงที่สามารถนำมาใช้แปรรูปกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ มะม่วงแก้ว มะม่วงพิมเสน สำหรับมะม่วงสามปีของภาคเหนือจะนิยมใช้ผลสุกทำแยม และครั้นน้ำบรรจุกระป๋อง เป็นต้น






ลักษณะมะม่วงพันธุ์ต่างๆ ที่นิยมปลูกในประเทศไทย


1. น้ำดอกไม้
เป็นพันธ์ที่นิยมปลูกกันทั่วไป สามารถออกดอกแต่ติดผลปลานกลาง และให้ผลทุกปีผลมีขนาดปลานกลางถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของผลจะอ้วน หัวใหญ่ปลายแหลม ผลค่อนข้างยาว
ลักษณะเปลือกบาง มีต่อมกระจายห่าง ๆ ทั่วผล
ผลดิบ ผิวเปลือกจะเป็นผิวนวล เนื้อแน่นหนาเป็นสีขาว มีรสเปรี้ยวจัด
ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเหลืองนวลเนื้อเป็นสีเหลืองมีรสหวาน
เมล็ด แบนยาว เมื่อเพาะต้นอ่อนจะขึ้นได้จากเมล็ดเดียว


2. แรด
เป็นมะม่วงพันธ์เบา เจริญเติบโตเร็ว มีลักษณะเป็นพุ่มค่อนข้างทึบใบมีขนาดปลานกลาง
ผล ตรงกลางมีลักษณะกลม หัวอ้วนใหญ่มีปลายแหลมเล็กน้อย ผิวเป็นคลื่นไม่เรียบ มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดที่เรียกว่า มีนอ ตรงส่วนบนด้านหลัง แต่บางผลและบางต้นจะไม่มีอัตราส่วนโยเฉลี่ยของความยาว : ความกว้าง : ความหนา เท่ากับ 1.9 : 1 : 1
ลักษณะ เปลือกและผิวค่อนข้างหนาและเหนียว ต่อมมีขนาดใหญ่ไม่ค่อยชัดกระจายอยู่ทั่วผล
ผลดิบ จะมีรสเปรี้ยวจัด เมื่อแก่จัดจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
ผลสุก ผิวเป็นสีเหลือง เนื้อเหลือง มีเสี้ยนค่อนข้างมาก
เมล็ด รูปร่างค่อนข้างสั้น จะมีเสี้ยนติดเมล็ดค่อนข้างมาก น้ำหนักของเนื้อต่อเมล็ดเฉลี่ย 6.4 : 1 เมล็ดเดียวเพาะได้หลายต้น


3. ขียวเสวย
เป็นพุ่มหนาทึบ ใบเป็นสีเขียวเข้ม ผลใช้รับประทานดิบหรือสุกก็ได้
ลักษณะ เปลือกหนาและเหนียว มีต่อมไม่ค่อยชัด และกระจายอยู่ทั่วผล
ผลดิบ ผิวเปลือกจะมีสีเขียวเข้ม และจะออกสีนวลเมื่อแก่ เนื้อเป็นสีขาวจะมีความละเอียด กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสเปรี้ยว เมื่ออ่อน เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน
ผลสุก ผิวของเปลือกจะเป็นสีเขียวปนเหลืองสีของเนื้อเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อจะเอียด มีเสี้ยนน้อย และมีรสหวาน
เมล็ด สามารถเพาะต้นอ่อนขึ้นได้หลายต้นจากเมล็ดเดียว เมล็ดค่อนข้างแบนยาว เนื้อเมล็ดค่อนข้างเต็ม และมีเสี้ยนติดกับเมล็ดน้อย


4. ฟ้าลั่น
เป็นทรงพุ่มค่อนข้างทึบ ใบยาวคล้ายใบมะม่วงพันธ์สายฝน ออกผลค่อนข้างดก
ลักษณะผลจะกลมมากกว่ามะม่วงพันธ์สายฝน แต่มีความยาวพอ ๆ กัน ปลายผลกลมมนเมื่อผลแก่จัดเนื้อจะเปาะบางมาก และอาจจะแตกทันทีเมื่อถูกคมมีดซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธ์เห็นได้ชัด
ลักษณะ เปลือกจะหนา แต่ไม่เหนียว มีต่อมขนาดปลานกลางเห็นได้ชัด และกระจายอยู่ทั่วผล
ผิวเปลือกเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อขาวนวล ลักษณะผิวหยาบ กรอบ มีเสี้ยนค่อนข้างน้อย รสชาติมันตั้งแต่ผลเล็ก ๆ เมื่อแก่จัดรสชาติจะหวานมัน
ผลสุก ผิวเขียวปนเหลือง เนื้อเป็นสีเหลืองเนื้อค่อนข้างละเอียด มีเสี้ยนน้อยรสหวานไม่จัดนัก
เมล็ด เมื่อเพาะจะมีต้นอ่อนขึ้นหลายต้นจากเมล็ดเดียว รุปร่างของเมล็ดยาว แบนมีเนื้อในเมล็ดไม่เต็ม


5. มะม่วงแก้ว
มะม่วงแก้วไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะต้นเตี้ย ทรงพุ่มกว้างกิ่งก้านแข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลงสามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่
ลักษณะ เปลือกจะหนา ผิวเป็นสีเขียวเข้มนวล
ผลดิบ เนื้อหวานหอม แน่น และกรอบมียางน้อย และจะมันเมื่อแก่จัด
ผลสุก จะมีรสชาติหวาน


6. มะม่วงหนองแซง
มะม่วงพันธ์นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี จะออกดอกและติดผลดี ลักษณะต้นเป็นทรงค่อนข้างทึบใบใหญ่ และสั้น ขอบของใบจะเป็นคลื่นเล็กน้อย จะมีลักษณะการแตกใบผิดกับมะม่วงพันธ์อื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตรมะม่วงพันธ์นี้ไม่ทนทานต่อการถูกน้ำท่วมขังถ้าหากท่วม 3-4 วันต้นจะเฉาทันที
ลักษณะ เปลือกและผิวค่อนข้างหนา จะมีต่อมขนาดปลานกลางกระจายทั่วผล
ผลดิบ ผิวของเปลือกจะมีสีเขียวนวลสีของเนื้อค่อนข้างขาว ลักษณะสีของเนื้อจะละเอียดมีเสี้ยนเล็กน้อย รสชาติจะมันจัดตั้งแต่ยังเป็นผลเล็ก ๆ เมื่อแก่จัดจะมีรสมัน และกรอบ
ผลสุก ผิวของเปลือกจะมีสีเหลือง สีของเนื้อจะเป็นสีเหลือง ลักษณะเนื้อจะละเอียดมีรสชาติหวานชืด
เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบนยาว เนื้อในเมล็ดมีน้อย และเมื่อเพาะต้นอ่อน จะสามารถขึ้นได้หลายต้นจากเมล็ดเดียว






การขยายพันธ์มะม่วง

1.การเพาะเมล็ดมะม่วง
ใช้กับการปลูกบริเวณถนนในสวน การขยายพันธ์ด้วยเมล็ดนั้นสามารถใช้เป็นต้นหลักได้อีก เช่น การเพะเมล็ดมะม่วงแก้วเพื่อใช้เป็นต้นหลักมะม่วงพันธ์ดีต่าง ๆ ซึ่งมีหลักและวิธีการดังนี้

การคัดเลือกเมล็ดพันธ์มะม่วง ควรมีลักษณะ ดังนี้
1.เมล็ดที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรคและแมลงต่าง ๆ
2.เมล็ดที่สมบูรณ์ มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง
3.มาจากสายพันธ์ที่ดี


วิธีการเพาะเมล็ด
การเพาะเมล็ดมะม่วงที่นิยมกัน แบ่งออกได้ 2 วิธีคือ

1. การเพาะในถุงพลาสติก
ควรทำการเลือกถุงพลาสติกขนาด 6×9 นิ้ว หรือ 5×8 นิ้ว โดยนำเอาถุงพลาสติกมาเจาะรูด้านล่างประมาณ 2 รูและพับปากถุงพลาสติกลงประมาณ 1-2 นิ้ว การที่พับถุงเพื่อให้ถุงมีความหนาและแข็ง เมื่อทำการรดน้ำปากถุงก็จะไม่เอียงลงไปปิดกั้นน้ำที่จะไหลลงถุงทำให้ดินที่บรรจุภายในถุงรับน้ำเต็มที่
วัสดุที่ใช้เพาะเมล็ด คือส่วนผสมระหว่าง ดิน-แกลบ-ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1 ดินที่ใช้ควรเป็นดินร่วนและย่อยให้ระเอียด

2. การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ
การเตรียมแปลงเพาะ ควรหาความกว้างและความยาวของแปลงนั้นให้เหมาะสม กับจำนวนเมล็ดที่ทำการเพาะโดยคำนวณได้จากระยะระหว่างต้นและแถว ต่อเมล็ด 10 เซนติเมตร ระหว่างแถว 20 เซนติเมตร
การเตรียมเมล็ดพันธ์ สำหรับวิธีการเพาะ 2 วิธี ควรผสมยาจับแมลงไปในน้ำยาเพื่อช่วยลดเข้าทำลายของเชื้อราได้มากขึ้น
การฝังเมล็ดลงในดิน ให้เอาส่วนที่เว้าของเมล็ดอยู่ด้านล่าง แล้วฝังลึกประมาณครึ่งนิ้ว






การทาบกิ่ง

1.การเตรียมต้นหลัก
การเพาะเมล็ดเพื่อทำเป็นต้นหลัก

เมล็ดที่นำมาเพาะควรเป็นเมล็ดที่ได้มาจากผลมะม่วงสุกจากนั้นก็ทำการแยกเนื้อเอาเปลือกออกก่อนนำไปเพาะ ซึ่งช่วยให้เมล็ดเพาะได้เร็วขึ้น
ต้นกล้าเมื่อมีอายุ 2 เดือน หรือมีขนาดของลำต้นโตแล้ว ก็สามารถนำมาใช้เป็นต้นหลักในการทาบกิ่งได้โยการตัดแต่งรากออก โดยให้ส่วนของรากแก้วเหลือประมาน 3 นิ้ว และหากรากฝอยมีมากเกินไป ให้ตัดออก ส่วนยอดควรตัดออกให้หมดเพื่อลดการคลายน้ำหรือตัดยอดไปทิ้ง เสร็จแล้วนำไปบรรจุในถุงใส่ขุยมะพร้าว 4×6 นิ้ว ใช้ลวดรัดกลางถุง สำหรับขุยมะหร้าวที่จะนำมาใช้อัดถุง ควรแช่น้ำไว้ก่อนอย่างน้อย 1 คืน


วิธีการทาบกิ่ง

◦เลือกกิ่งพันธุ์ดีไว้ก่อน
◦ทำการเฉือนกิ่งให้เป็นรูปโล่ ความยาวประมาณ 1-2 นิ้ว
◦ส่วนต้นหลักที่เตรียมไว้ให้เฉือนเป็นรูปปากฉลาม และความยาวประมาณ 1 – 2 นิ้ว และสูงจากปากถุงประมาณ 1-2 นิ้ว
◦จากนั้นให้นำต้นหลักทำการประกบกับกิ่งพันธุ์ดีที่ทำการเฉือนแผลไว้แล้ว
◦ทำการสอดปลายต้นหลักเข้าไปใต้ลิ้นของกิ่งพันธ์ประกบรอยแผลทั้งสองให้สนิท
◦หลังจากนั้นให้ใช้ผ้าพลาสติกหรือเชือกฟางทำการมัดรอยแผลให้แน่น
◦จากนั้นประมาณ 30 – 40 วัน รอยแผลจะทำการผสานตัวติดกัน
◦รากของต้นหลักจะงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มมีสีน้ำตาล โดยที่ปลายรากจะมีสีขาวเป็นจำนวนมาก
◦หลังจากนั้นให้ทำการตัดลงไปชำไว้
◦แกะถุงพลาสติกที่ทำการห่อหุ้มออก
◦นำต้นหลักมาทำการเพาะชำไว้ที่ร่มต่อไป






สภาพแวดล้อมของการปลูกมะม่วง

ดิน มะม่วงสามารถปรับตัวเข้ากับดินประเภทต่าง ๆ ได้ดีกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ แต่มีข้อแม้ต้องมีหน้าดินลึกและระบายน้ำได้ดี
น้ำ มะม่วงจะเป็นพืชที่ทนความร้อนได้ดี แต่น้ำก็มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปลูกมะม่วง มะม่วงที่มีอายุน้อย หรือยังไม่ติดผล จะมีความต้องการน้ำน้อยกว่ามะม่วงที่มีอายุมากกว่า
อุณหภูมิ มะม่วงชอบอากาศร้อน ทนต่ออากาศแห้งได้ดี และไม่ชอบอากาศชื่น เพราะจะทำให้มะม่วงตาย
ฤดูกาลปลูก มะม่วงสามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล และสถานที่เหาะสม






การปลูกมะม่วง

การสร้างสวนมะม่วงหรือสวนผลไม้ชนิดต่างๆ มีความจำเป็นที่ต้องมีการแผนผังระบบการปลูกเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งการวางแผนผังนั้นเป็นสิ่งที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง


การปลูกมะม่วงสมัยใหม่

การปลูกสมัยเก่าจะทำการปลูกประมาณ 8–10 เมตรต่อหนึ่งต้น โดยที่สวนมะม่วงเมื่อปลูกจะไม่คำนึงถึงการบำรุงรักษาเพราะส่วนใหญ่จะปล่อย ให้เจริญเติบโตโดยธรรมชาติ การปลูกส่วนใหญ่จะปลูกด้วยเมล็ดนั้นจะทำให้ได้ลำต้นสูงใหญ่
นักวิชาการเกษตรเห็นว่าการใช้ดินในพื้นที่ 1 ไร่ ควรจะปลูกมะม่วงได้มากกว่า 25 ต้น ตลอดจนเวลาออกผลก็หลายปีแม้ในระยะเวลาที่มะม่วงยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่สามารถปลูกพืชอื่นๆ แซมระหว่างต้นได้
ระยะการปลูก ระยะการปลูก 8×8 เมตร ระยะปลูกขนาดนี้ปลูกได้ไร่ละ 25 ต้น ระยะปลูก 66 เมตรปลูกไดไร่ละ 44 ต้น ระยะปลูก 44 เมตร ระยะปลูกขนาดนี้สามารถปลูกได้ถึง 100 ต้น ต่อไร่ ระยะปลูก 2.5 2.5 ระยะปลูกนี้สามารถปลูกได้ถึง 256 ต้น ต่อ 1 ไร่


ประโยชน์

1.การปฏิบัติดูแลรักษาทำได้ง่าย
2.การปลูกถี่เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการกำจัดวัชพืช
3.กรณีที่ต้องการจะห่อหุ้มผลมะม่วงเพื่อไม่ให้แมลงวางไข่สามารถทำได้อย่างทั่วถึง
4.สามารถให้ผลเร็วกว่าปกติเพราะใช้ตอนกิ่งหรือทาบกิ่ง


การเตรียมพื้นที่สำหลับปลูกมะม่วง


พื้นที่ปลูกมะม่วงมี 2 ชนิดคือ พื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน
การปลูกมะม่วงในพื้นที่ลุ่ม
เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมถึงเป็นประจำโดยเฉพาะในระยะปลายฤดูที่มีปริมาณน้ำฝนมากและมีน้ำหลากเป็นประจำ ในแถบภาคกลางมักพบปัญหาเหล่านี้เป็นประจำ การปลูกมะม่วงในพื้นที่แถบนี้มีอยู่ 2 วิธีคือ
1. ยกโคกปลูกแบบจอมปลวก คือ สามารถปลูกในนาหรือปลูกมะม่วงตามคันนาก่อน เมื่อต้นมะม่วงมีขนาดใหญ่ขึ้นก็เสริมดินบริเวณโคนต้นให้กว้างขึ้นคล้ายจอมปลวก ซึ่งวิธีนี้จะประหยัดต้นทุนในการดำเนินการในระยะแรกได้
2. ยกเป็นแปลงปลูก คือ มีร่องระบายน้ำระหว่างแปลงและมีแนวคันดินเพื่อป้องกันน้ำท่วมเพื่อที่ในเวลาฝนตกจะต้องคอยกั้นน้ำเข้าหรือต้องเสริมดินบนคันกั้นน้ำเสมอ แต่มีข้อดีคือ จะมีน้ำชลประทานเพียงพอตลอดปีเพื่อป้องกันน้ำท่วมตามที่ต้องการ

การปลูกมะม่วงในที่การปลูกมะม่วงแบบนี้มีการลงทุนในระยะแรกต่ำ แต่ถ้าหากไม่น้ำชลประทานให้ จะทำให้คุณภาพและผลผลิตของมะม่วงต่ำลง ซึ่งการทำสวนมะม่วงในที่ดอนนั้นจะดีกว่าในที่ลุ่ม เนื่องจากดินมีการระบายน้ำได้ดีกว่า และยังสามารถใช้เครื่องมือหรือเครื่องทุ่นแรงช่วยในการปฏิบัติงานในการดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวเป็นไปอย่างรวดเร็ว






การเตรียมหลุมปลูก

การเตรียมหลุมปลูกสำหรับมะม่วงมีความสำคัญต่อการ เจริญเติบโตของต้นมะม่วงมากขึ้น โดยปกติแล้วขนากของ หลุมปลูกมะม่วงจะมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะ ของดิน เช่น ในสภาพดินร่วนปนทราย ควรใช้ขนาดหลุม 50 × 50 × 50 เซนติเมตร (กว้าง × ยาว × ลึก) แต่ถ้าสภาพดินเป็นดินเลนหรือดินดาน ขนากของหลุมควรใช้ขนาดความกว้าง ยาว และ ลึก ด้านละ 1 เมตร
การขุดหลุมควรใช้จอบขุดดินเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือวงกลม โดยการแบ่งชั้นของดอนออกเป็นดังนี้ คือ ดินชั้นบน อยู่ในระดับ 1 ฟุต ส่วนดินชั้นล่างให้เอาขึ้นมาไว้ข้างบนแยกต่างหาก ขุดหลุมเสร็จแล้วจะมีดินอยู่ 3 กอง ขุดเสร็จแล้วใช้ปุ๋ยคอก มาคลุกเคล้ากับดินจนเข้ากันดีแล้วใส่ลงบริเวณก้นหลุมโดยให้ชั้นดินสูงจากขอบหลุมประมาณ 5-6 นิ้ว เมื่อเตรียมหลุมปลูกเรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มลงมือปลูก
หลังจากแก้ผ้าพลาสติกแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือ ตรงบริเวณรอยทาบจะเป็นจุดที่อ่อนแอมากที่สุดหารกมีสิ่งใดมากระทบอาจทำให้รอยทาบนี้จะแยกออกจากกันได้


การดูแลรักษา

1.การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยมะม่วงยังมิได้มีการทดลองกันอย่างแท้จริง เพราะสภาพดินของแต่ละท้องที่ทำการปลูกแตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วชนิดของปุ๋ยที่ให้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือ

2.ปุ๋ยอินทรีย์
เป็นปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะมีทั้งพืชและสัตว์โดยผ่านสภาพการแปรรูปหรือ นำมาหมักจนเน่าเปื่อยและอยู่ในสภาพที่นำมาใช้ได้ปุ๋ยอินทรีย์นั้นโดยปกติจะมีธาตุอาหารต่าง ๆ อยู่เกือบครบถ้วน นอกจากนี้ยังปรับสภาพดินเหนียวให้มีการระบายน้ำได้ดี

3.ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี
เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยอินทรีย์และอยู่ในสภาพที่สามารถละลายน้ำได้ดีซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทันที


การใส่ปุ๋ยมะม่วงนั้นสามารถแบ่งช่วงระยะของการใส่ปุ๋ยได้ ดังนี้

1. ระยะหลังตัดแต่งกิ่ง ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อให้มะม่วงแตกกิ่งก้านออกมาใหม่ และเพื่อให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรงจึงควรใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 4-5 บุ้งกี๋รวมเข้าไปด้วย
2. ระยะก่อนหมดฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่มะม่วงหยุดการเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านและเตรียมตัวสำหรับออกดอก ในระยะนี้ควรลดปริมาณปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนให้ต่ำลง ถ้าเป็นดินร่วนหรือดินทรายควรใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 แต่ถ้าเป็นดินเหนียวควรใช้สูตร 12-24-12 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น
3. ระยะก่อนออกดอก จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบเพื่อบังคับไม่ให้มะม่วงแตกใบอ่อน โดยอาจใช้ปุ๋ย สูตร 0-52-34 หรือ 10-52-17 ฉีดพ่นในอัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้งห่างกัน 10-14 วัน หรือใช้สูตร 6-32-32 อัตรา 70 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้งก็ได้
4. ระยะติดผล ใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ฉีดพ่นทุก 2 สัปดาห์ ประมาณ 5 ครั้ง






การออกดอกการติดผล

การออกดอก

มะม่วงทำการออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ การออกดอกของมะม่วงจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ความสมบูรณ์ของต้น และพันธ์ของมะม่วง ซึ่งใบมะม่วงจะอยู่ในสภาพแก่จัดก่อนที่จะออกดอก ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเริ่มตั้งแต่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอกจนถึงบานเต็มที่ ใช้เวลาประมาณ 20 วัน

การติดผล

มะม่วงจะออกดอกอีกครั้งหนึ่งจำนวนมาก แต่จะติดผลเพียง 0-10 ผลต่อช่อเท่านั้น ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่นลักษณะของดอกมะม่วงที่ไม่สมบูรณ์ อาจเกิดจากแมลง






โรคและแมลงศัตรู

1.โรคแอนแทรกโนส
สาเหตุและการแพร่ระบาด

เกิดจากเชื้ราที่มีชื่อว่า คอลเลทโตตริคัม กลีโอสโปรอยด์ โดยที่สปอร์ของเชื้อจะทำการแพร่และปลิวไปตามลมหรือพายุฝนทำให้เกิดการระบาดในช่วงฤดูฝน
ลักษณะอาการ
ใบจะเกิดเป็นสีน้ำตาลหรือดำมีขนาดเล็ก ซึ่งแผลจะขยายออกและรวมตัวกันทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่จะทำให้ใบบิดงอได้
การป้องกันและกำจัด

1.ตัดแต่งกิ่งและเก็บใบที่เป็นโรคเผาทำลาย
2.ฉีดพ่นด้วยยา ไดเทนเอ็ม -45, เอซินแม็ก, แมนวิคาร์บ, ฟันดาโซล 50 หรือ เบนเลท ชนิดใดก็ได้ เมื่อมะม่วงแตกใบอ่อนให้ฉีดพ่น 14 วันต่อครั้ง เป็นจำนวน 2 ครั้ง

2. โรคราแป้ง

สาเหตุและการแพร่ระบาด
เชื้อรามีชื่อว่า ออยเดียม แมงกิเฟอรี จะแพร่ระบาดโดยการ ที่สปอร์ของเชื้อเกิดขึ้นบนบริเวณแผล แล้วแพร่กระจายโดยลมพัดไปยังดอกอื่น ระบาดในช่วงฤดูฝน
ลักษณะอาการ
เป็นผงสีขาวคล้ายผงแป้ง โดยจะเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ต่อมาจะขยายออก รวมกันเป็นบริเวณกว้าง ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ติดเชื้อเกิดการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนม่วง


การป้องกันและกำจัด

1.ทำลายส่วนที่เป็นโรคด้วยการนำเอาไปเผาไฟ
2.ใช้สารเคมีป้องกัน และยังมีโรคอื่นๆ อีกมากมายเช่น โรคเปลือกแตกยางไหล โรคราดำ โรคราสีชมพู ด้วงเจาะลำต้นมะม่วง แมงค่อมทอง